มัลติเอฟเฟค ต่อยังไงให้เสียงดี

มัลติเอฟเฟค คือ การจำลองเสียงต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเสียงแอมป์ ( ปรีแอมป์ + พาเวอร์แอมป์ ) เสียงดอกลำโพงกีต้าร์ ไมค์จ่อตู้ หรือเอฟเฟคก้อนต่างๆนาๆเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อมือกีต้าร์หลายๆท่านที่พบปัญหากับการใช้อนาล็อกเอฟเฟคนะครับ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาตู้แอมป์ที่ไม่ดี ไมค์จ่อตู้ที่ไม่ได้คุณภาพ หรือสถานที่หลายๆที่ ที่ไม่อำนวยต่อการไมค์กิ้งนั่นเองนะครับ รวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน พกตัวเดียวจบ ซึ่งเสียงมัลติในปัจจุบันก็ทำได้ดีมาก จนบางทีแยกเสียงกับก้อนที่จำลองมาแทบไม่ออกMulti Effect ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันได้แก่ Line 6 Helix และ HX Series, Fractal Audio, Kemper, Mooer GE200 / GE300 , Hotone Ampero, Boss GT-1000, Headrush Pedalboard ซึ่งรุ่นชั้นนำเหล่านี้มี Output ที่หลากหลาย รวมถึงการเลือกจำลองสิ่งต่างๆแยกอิสระ เปิดปิดใช้งานแยกได้ละเอียดคราวนี้จะเราจะมาอธิบายว่า เราควรใช้มัลติเอฟเฟคของเราต่อกับอะไรได้บ้าง และ ควรต่อแบบไหนเพื่อที่จะทำให้คุณภาพออกมาดีที่สุด
1.ต่อแอมป์กีต้าร์ ทั่วไป (พูดถึงการต่อหน้าตู้ /ต่อ return)
-พูดถึงการต่อแอมป์กีต้าร์ ปกติแอมป์กีต้าร์จะมีช่อง input เพื่อเอาสัญญาณกีต้าร์ของเราเข้าไปที่ปรีแอมป์ พาวเวอร์แอมป์ และ Cabinet (ดอกลำโพง) และจะมีช่อง FX loop หรือ ช่อง Send Return นั่นเองนะครับ คราวนี้เราต้องมาดูที่มัลติเอฟเฟคของเราว่า เราใช้จำลองอะไรในมัลติเอฟเฟคของเรา ถ้าต้องการต่อ Input ที่หน้าตู้ของแอมป์ ข้อควรต้องห้ามของมัลติเอฟเฟคคือ ไม่ควรเปิดการจำลองแอมป์ กับ Cabinet (ดอกลำโพง) เพราะทำให้เสียงจำลองแอมป์ในมัลติ ไปซ้อนกับเสียงปรีแอมป์จริงของตู้ จะทำให้ได้เสียงแปลกๆ (แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องใช้จำลองแอมป์จริงๆ เราสามารถใช้ EQ เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ได้ บางสูตรบอกว่าปิดเสียงกลาง เพิ่มแหลม แต่ยังไงไม่มีกฎตายตัว ถ้าปรับแล้วเสียงดีก็ลุยเลยครับ ถึงแม้จะต้องปิดบาง EQ หรือ เปิดสุดในบางอัน ) ส่วนเอฟเฟคที่เป็นประเภทจำลองก้อนต่างๆ ก็สามารถใช้งานได้ปกติ เพราะฉะนั้นหลักของการต่อ Input คือเนื้อเสียงหลักๆจะมาจากแอมป์ตัวนั้นๆของเราที่ใช้นะครับ -ส่วนการต่อ Retrurn นะครับ คือการนำเจ้ามัลติเอฟเฟคของเราเนี่ย ยิงสัญญาไปเข้าช่อง Return เพื่อปิดการทำงานของภาคปรีแอมป์กีต้าร์ไป แต่การทำงานของภาคพาวเวอร์แอมป์กับ Cabinet ยังคงอยู่ เพราะฉะนั้น การต่อลักษณะนี้ เราสามารถที่จะใช้การทำงานการจำลองของปรีแอมป์ในมัลติเอฟเฟคได้ เพราะเสียงจะไม่ไปซ้อนกับปรีแอมป์กีต้าร์แล้วนะครับ แต่เราควรจะปิดการจำลอง Cabinet (ดอกลำโพง) และ Power Amp ไป เพราะจะทำให้การจำลอง Cabinet ในมัลติเอฟเฟคไปซ้อนกับดอกลำโพงจริงๆของตัวแอมป์กีต้าร์ อาจจะทำให้เสียงได้คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร แอมป์ที่นิยมใช้กับมัลติเอฟเฟคนะครับส่วนใหญ่นิยมใช้แอมป์ที่มีฟังค์ชั่นการต่อทั้งการต่อแบบ Input และ Return เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งาน ทางเราขอแนะนำ
2.ต่อเข้า Power amp + cabinet
-พูดถึงการต่อเข้า power amp + cabinet การใช้งานในลักษณะนี้นะครับ เหมาะกับมือกีต้าร์ที่ยังต้องการได้ยินเสียงจากลำโพงจริงๆอยู่ เสียงที่ได้จะเหมือนแอมป์ เราสามารถที่จะใช้การจำลองปรีแอมป์จากมัลติเอฟเฟคของเรายิงสัญญาณ output เข้าไปที่ power amp + cabinet เพื่อทำให้เกิดเสียงขึ้นมา โดยที่เราปิดการทำงานการจำลองพาวเวอร์แอมป์ กับ คาบิเนตในตัวมัลติเอฟเฟคของเราไปนะครับ เพียงแค่นี้ ก็จะทำให้การใช้งานการต่อแบบนี้ ทำออกมาได้สมบูรณ์และได้เสียงที่ดีครับผมPower amp ที่เหมาะกับการใช้งานก็จะมี
Cabinet หลักๆที่นิยม ก็จะใช้ Marshall, Laney, Mooer เพราะมีราคาที่ไม่แพงมากและได้คุณภาพที่ค่อนข้างดีครับ โดยดอกลำโพงที่นิยมจะเป็น Celestion 3.ต่อเข้า Active Monitor Speaker -การต่อลักษณะนี้นะครับ นิยมเรียกกันว่าการต่อตรง หรือ การ direct out นะครับ คือเราสามารถจะใช้งานมัลติเอฟเฟคของเราได้เต็มศักยภาพที่สุด สามารถใช้ได้ทั้งการจำลองแอมป์ จำลอง Cabinet (ดอกลำโพง) จำลองไมค์จ่อตู้ หรือการจำลองเอฟเฟคอื่นๆได้หมดเลยนะครับ โดยที่เราจะใช้ Active monitor ไว้เป็น monitor ไว้ฟังเสียงที่ได้มาจากมัลติเอฟเฟคของเรา อาจจะใช้เป็น monitor ส่วนตัวไว้ฟัง หรือ อาจจะนำไปใช้เป็นเหมือนลักษณะของแอมป์กีต้าร์เพื่อให้เสียงกระแทกจากด้านหลัง ทำให้ฟิลลิ่งการเล่นของเรา คล้ายกับใช้แอมป์กีต้าร์จริงๆ ส่วนมากรูปร่างหน้าตาจะเหมือนลำโพง PA ดอกลำโพง และกำลังขับ ก็ตามการใช้งานครับ การต่อลักษณะนี้ จะทำให้เราปรับเสียงตอนเล่นสดได้ดี เพราะส่วนมากเสียงบนเวทีที่เราเล่น เสียงกีตาร์ที่ได้ยินก็จะผ่าน Active Speaker ลักษณะนี้ ให้คนดูฟัง เหมาะกับคนที่เน้นเล่นสด เน้นต่อตรง Active Monitor ที่เหมาะกับการใช้งานอาทิเช่น
4.ต่อเข้า FRFR Speaker -FRFR ย่อมาจาก Full Range Flat Response แปลตรงตัวว่า ให้เสียงที่เต็มทุกย่าน และยังให้ความรู้สึกเหมือนการยืนเล่นอยู่หน้าตู้จริงๆ การต่อลักษณะนี้จะมีวิธีต่อคล้ายๆกับการต่อเข้า Active Monitor อาจจะต่างกันอยู่ตรงที่ตัวดอกลำโพง โดยที่ดอกลำโพงของตัว FRFR Speaker จะมีความแตกต่างกับเจ้า Active Monitor อยู่ โดยที่ตัว FRFR เนี่ย จะเป็นลำโพง monitor ที่ยังคงใช้ดอกลำโพงที่ให้ Charector ดอกลำโพงกีต้าร์จริงๆอยู่ ซึ่งจะทำให้โทนเสียงยังมีความเป็นแอมป์กีต้าร์ได้ชัดเจนกว่าตัว Active Monitor จะเป็นดอกลำโพงที่ใช้งานเหมือนดอกลำโพง PA หรือดอกลำโพงทั่วๆไป ที่ไม่ใช่ดอกลำโพงสำหรับกีต้าร์ เพราะฉะนั้น ฟิลลิ่งของ 2 อย่างนี้ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่การเลือกใช้การจำลองในมัลติเอฟเฟคสามารถใช้เหมือนกันได้เลยครับอาจจะต่างกันที่โทนเสียง แล้วแต่ความชอบของมือกีต้าร์แต่ละท่านเลยนะครับ FRFR Speaker ที่เหมาะกับการใช้งานอาทิเช่น
5.ต่อเข้า Studio Monitor
-การต่อเข้า Studio Monitor การต่อลักษณะนี้ก็ยังคือการต่อแบบ Direct out คือเราสามารถที่จะใช้การจำลองทุกอย่างจากเจ้ามัลติเอฟเฟคเราได้เลย ส่วนเรื่องโทนเสียงก็อาจจะขึ้นกับปัจจัยหลายๆแบบเช่น Audio Interface หรือ Monitor ที่ให้โทนเสียงต่างๆกันออกไป การต่อแบบนี้ เสียงที่ได้อาจจะไม่ได้กระหึ่ม หรือมีคาเร็คเตอร์กระแทกๆแบบแอมป์กีตาร์จริงๆ แต่จะได้ในเรื่องมิติ Stereo เวลาใช้พวกเอฟเฟค Stereo จะชัดเลย และเหมาะกับการทำเพลง อัดเสียง เพราะเสียงที่ได้ยิน จะเป็นเหมือนเสียงที่เราต้องการจะอัดเข้าไปเวลาทำเพลง อีกจุดเด่นคือความชัดเจนแต่ละย่านจะชัดเจนมาก เนื่องจากมัลติเอฟเฟคสมัยนี้ คนไม่ได้ใช้แค่เล่นสด แต่ใช้ทำเพลง อัดเสียงด้วย หลายคนเวลาเล่นอยู้่บ้านเลยมักจะต่อ Studio Monitor เลยครับ Studio Monitor ที่อยากแนะนำ เช่น

สั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมที่ CT Music Shop ยินดีให้คำปรึกษาฟรี !! ซื้อที่นี่ส่งไวสุด สต๊อกแน่น ได้ในวันเดียวกัน

webmaster